วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

โรคน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม (Risk Factors)
1. โอกาสเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 50 ปี
2. พันธุกรรม ข้อมูลที่บ่งว่ามีปัจจัยพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่
มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง เช่น มารดา หรือบุตร
มีประวัติมะเร็งในญาติพี่น้องหลายคน
ประวัติการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยอายุน้อยในครอบครัวหรือญาติ
การเกิดมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยที่มีก้อนที่เต้านมมีประวัติดังกล่าว อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงขึ้น
3. ปัจจัยที่เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ ที่พบว่าอาจมีส่วนสัมพันธ์ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเป็นมะเร็งสูงขึ้น ได้แก่
มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (early menarche) คือมีครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
หมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ (late menopause) คือหมดเมื่ออายุมากกว่า 55 ปี
ไม่เคยมีบุตร (nulliparity)
ไม่เคยมีน้ำนม (absence of lactation)
เคยได้รับฮอร์โมนจากภายนอก เช่น ได้รับยาคุมกำเนิด ได้รับการรักษาเสริมด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ diethylstilbestrol หรือเคยได้รับฮอร์โมนกระตุ้นเพื่อช่วยในการเจริญพันธุ์
ใช้ยาคุมกำเนิดมากว่า 10 ปี
ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในวัยทองมากกว่า 5 ปี
4. ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้แก่ เคยได้รับรังสีมาก่อน ในวัยเด็ก ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารไขมันสูง หรืออาหารแบบชาวตะวันตก หรือเชื้อชาติ มีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงแต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนรับประทานอาหารพวกผัก และ ธัญพืชช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้
5. ประวัติโรคอื่น ๆ ที่เคยเป็นได้แก่
เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน (previous breast cancer)
มีพยาธิสภาพของเต้านมที่มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งสูง เช่น lobular carcinoma in situ, atypical hyperplasia, proliferative fibrocystic disease, ovarian and endometrial cancer
เคยตรวจ Mammography พบความเข้มของเนื้อเยื่อ 75%
การสูบบุหรี่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
ความอ้วนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่ง
หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวท่านต้องเริ่มต้นตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

โรคปวดหลังป้องกันได้อย่างไร

โรคปวดหลังป้องกันได้ไม่ยากBack pain โรคปวดหลังพบได้บ่อยรองจากโรคปวดหัว เมื่อคุณอายุมากอาจ จะต้อง เผชิญกับโรคนี้ "คิดป้องกันตอนนี้จะได้ไม่เป็นโรคปวดหลัง" สาเหตุของการปวดหลังนั้นมีมากมาย ขึ้นกับอายุของผู้ป่วย ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการอักเสบของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณสันหลัง อาจเกิดจากการจัดท่าทางของร่างกายไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังงอ, เดินหลังโก่ง หรือยกของหนักผิดวิธี ฯลฯ การรักษาจึงเป็นเพียงการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ แก้ปวด การจัดท่าทางให้ถูกต้องและการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ก็จะเพียงพอยังมีสาเหตุของการปวดหลังในวัยหนุ่มสาว และกลางคนที่พบได้ไม่น้อยเลยคือ หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทขา ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดตะโพก ส่วนใหญ่จะร้าวลงขา มีบางรายอาจจะไม่ร้าวลงถึงต้นขา แต่อาการปวดจะยังคงอยู่แค่บริเวณตะโพกและหลังเท่านั้น ในรายเช่นนี้ อาการปวดมักจะเป็นมากขึ้น เมื่อก้มหรือ ไอ , จาม และดีขึ้นเมื่อได้นอนราบส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ สามารถวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติและตรวจร่างกาย, มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการทำกายภาพบำบัดค่อนข้างดี มีบางส่วนเท่านั้นที่อาการไม่ดีขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรค ด้วยการเอ็กซเรย์พิเศษอาจจะเป็นการฉีดสีเข้าบริเวณไขสันหลัง (Myelogram) หรือการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แม่เหล็ก (MRI) ก็ได้ เมื่อยืนยันการวินิจฉัยได้แล้ว ก็สามารถให้การรักษาในขั้นต่อไปได้ โดยอาจจะเป็นการฉีดยาเข้าบริเวณไขสันหลังหรือการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทนั้นออกส่วนในวัยสูงอายุ อาการปวดหลังมักมีสาเหตุจากการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังเช่นกระดูกสันหลังงอกดทับเส้นประสาท หรือมีการเคลื่อนตัวของข้อกระดูกสันหลังออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ, ตรวจร่างกาย และเอ็กซเรย์ การรักษาเบื้องต้นก็ยังคงเป็นการรับประทานยา, ใส่เสื้อรัดเอว, ทำกายภาพบำบัดเสียก่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากขึ้น ก็อาจจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดรักษาสาเหตุอื่นๆส่วนน้อย ที่ทำให้มีอาการปวดหลังได้ ก็คือ ปวดจากการร้าวของอวัยวะของช่องท้อง เช่น นิ่วที่ไต, ตับอ่อนอักเสบ ฯลฯ ซึ่งพบไม่บ่อยนัก จากประวัติอาการปวด, ตรวจ
ร่างกาย, เอ็กซเรย์รวมถึงการตรวจทางห้องทดลอง (เลือด, ปัสสาวะ) ก็สามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องพอสมควรอยู่แล้ว


คุณมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร?

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551

Quiz#4กลุ่ม RoseFire2008

ตามแนวคิดของสมาชิกกลุ่มคิดว่าระบบ HRIS มีความจำเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้เพราะกรณีที่บริษัทมีพนักงานจำนวนมากทั่วทุกภาคมีพนักงานกว่า 10,000คนจำเป็นต้องนำระบบHRISมาใช้ให้เกิดประโยชน์
เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานของตนโดยเป็นบัญชีรายชื่อพนักงาน และทักษะและขีดความสามารถ
ของพนักงานในองค์การเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของพนักงานมากกว่าแนวความคิดที่ต้องปรากฏในการออกแบบระบบการใช้งานโดยระบบที่ครอบคลุมจะสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลการจ่ายเงินเดือนประจำ ผลกำไร การขาดงาน และวันลาพัก ข้อมูลการพัฒนาการบริหารเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาที่จำเป็น ระดับการจ้างที่เพียงพอ หรือทักษะต่างๆ ที่มีประสิทธิผลที่สุดของทีมงาน
ระบบงานย่อยของHRIS มีดังนี้
  • ระบบงานวางแผนกำลังคน (man power planning)
  • ระบบงานทะเบียนประวัติ(central database)
  • ระบบการตรวจสอบเวลา(time attendance)
  • ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน(payroll)
  • ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน(performance evaluation)
  • ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร(training and development)
  • ระบบงานสวัสดิการต่างๆ(welfare)
  • ระบบการสรรหาบุคลากร(recruitment)

ข้อดีของการนำระบบHRISมาประยุกต์ใช้ในงานคือ

  1. กระบวนการจัดการข้อมูลมีความรวดเร็วให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์มากขึ้นที่จะนำไปดำเนินกรรมวิธี
  2. ลดเวลาการส่งข้อมูลและเพิ่มเวลาในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
  3. สามารถผลิตรายงานมาตรฐานต่างๆ ได้โดยง่าย เช่น รายงานงบเงินรวม การเข้ารับการฝึกอบรม บัญชีพนักงานและการวิเคราะห์แรงงานโดยอายุ ทักษะหรือประสบการณ์
  4. สามารถสร้างรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยสามารถสร้างข้อมูลเงินเดือนและเงินตอบแทนสำหรับพนักงานแต่ละคน ทั้งฝ่าย หรือทั้งบริษัท
  5. สามารถค้นหาพนักงานที่มีทักษะเฉพาะสำหรับตำแหน่งงานที่ว่าง ซึ่งจะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการหาคนเข้าตำแหน่งจากภายในเมื่อมีผู้มีคุณสมบัติอยู่แล้ว
  6. สามารถดึงข้อมูลได้ตลอดเวลาและในรูปแบบที่ต้องการเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้

ฐานข้อมูลการพัฒนาการบริหารมีประโยชน์อย่างยิ่งในยุค" การปรับองค์การ"สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือข้อมูลจำนวนมากของกำลังคนที่มีเพื่อพิจารณาว่าทักษะใดที่จะเหมาะสมกับโครงสร้างใหม่หรือที่ปรับ ซึ่งระบบอัตโนมัติจะจัดข้อมูลเหล่านี้ให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถค้นหาได้ด้วยปลายนิ้วมือ ช่วยให้สามารถเลือกบุคคลได้ตรงกับงานโดยเหมาะสมกับระยะเวลา

การใช้งานของระบบHRISมีหลายฝ่ายด้วยกันคือ

  • ฝ่ายบริหาร ผลที่ได้รับ เช่น การประเมินการปฏิบัติงาน การทบทวนเงินเดือน ข้อมูลการสรรหาพนักงาน การวางแผนที่มีประสิทธิผล การวิเคราะห์กำลังคน การวางแผนอาชีพ การวิเคราะห์เรื่องทีจะฝึกอบรม เป็นต้น
  • ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ผลที่ได้รับ เช่น รายงานตามระยะเวลา ข้อมูลพนักงาน การบริหารเงินเดือน การบริหารกำไร ข้อมูลผู้สมัครงาน ข้อมูลเร่งด่วน รายงานงบเงินรวม เป็นต้น
  • พนักงาน ผลที่ได้รับ เช่น ข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลกำไร เป็นต้น

คุณมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร?